วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

แสบจริง ๆ อภิสิทธิ์ กรณีเขมร

ผมเป็นคนหนึ่งที่เรียกร้องมาตั้งแต่ต้น เรื่องให้กร้าวต่อเขมร อย่ายอมให้ฮุนเซ็น ข่มขู่ เพราะเขมรเข้ายึดพื้นที่ทับซ้อนไปแล้วตั้งแต่ต้นปี แต่รัฐบาลก็เฉย แถมยังไปส่งบรรณาการให้เขาอีก

พอมาวันนี้กลับจะฮึ่มกับฮุน เซ็น แต่ก็ด้วยข้ออ้างไร้สาระสิ้นดีคือ ทักษิณไปเป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจให้เขา


มองเกมออกว่า รัฐบาลไม่ได้กล้ากับเขมรมาตั้งแต่ต้น แต่โดนพวกพันธมิตรรุกไล่จนต้องทำตาม ขณะเดียวกันก็จะฉวยโอกาสได้เล่นงานทักษิณ เอากระเเสนิยมเสียด้วย โดยแท้จริงแล้ว ก็หวังว่าเรื่องจะหยุดอยู่แค่ทางการทูตนี่แหละ ไม่ต้องรบจริง

นี่คือไพ่ที่ผู้นำไทยกำลังเล่น แต่เสี่ยงเหลือเกิน เพราะหากคู่แข่งไม่เดินเกมตามนิดเดียวมีหวังเจ๊งคากระดาน

อะไรบ้างที่เสี่ยง

ข้อแรกคือ การปะทะอาจเกิดขึ้น เล็กน้อยรัฐบาลไม่กลัว แต่หากขยายตัวล่ะ ดูแถลงการณ์ของรัฐบาลที่กล้า ๆ กลัว ๆ ไม่อยากให้ทั้งสองประเทศโกรธกัน แต่มันก็โกรธกันไปแล้ว เพราะไปปลุกกระแสคลั่งชาติเข้า กองทัพฮุนเซ็น ที่เติมกำลังหนาแน่น อาจบุกไทยเมื่อไหร่ก็ได้ ความสูญเสียก็จะตามมา

ข้อสอง เศรษฐกิจไม่สูญเสีย เเค่ประกาศก็พังไปเท่าไหร่แล้ว แค่ช่วงสั้นรัฐบาลรับได้ แต่ที่น่าห่วงคือ ความเชื่อมั่นระยะยาวที่เขมรไม่ต่อสัญญาคู่ค้าไทย โดนประเทศที่สามคว้าธุรกิจไป นี่สิยาว

ข้อสาม ไทยจะไม่เสียดืนแดน ถ้าเขมรกลัวหรือการดำเนินการทางกฏหมายจำพวกยกเลิก MOU ต่าง ๆ เป็นผลก็โอเคไป แต่เกรงจะไม่เป็นอย่างนั้น เพราะไทยจะอ้างอะไรก็ว่าไป แต่ทางพฤตินัยเขมรไม่ออกจากพื้นที่ทับซ้อนชายแดน ทั้งยังไม่ต้องเคารพข้อตกลงทางทะเลอีก เราจะบังคับเขาด้วยอะไร

ข้อสี่ คนไทยรักชาติ เชียร์ประชาธิปัตย์ เสื้อแดง-ทักษิณจ๋อย นี่คือสิ่งที่ประชาธิปัตย์หวังสุด แต่นั่นหมายถึงรัฐบาลต้องกร้าวต่อเนื่องแบบมีเหตุมีผล แต่หากอ่อนยวบให้ฮุนเซ็นเข้าอีก คนครึ่งประเทศก็ไม่เชียร์ ส่วนคนอีกครึ่งประเทศเขายิ่งเกลียดชังแตกร้าวหนักขึ้น รัฐบาลว่าขวา เขาว่าซ้าย รัฐบาลว่าใต้เขาว่าเหนืออยู่แล้ว

ข้อห้า พวกที่เคยหนุนหลังประชาธิปัตย์อย่างพวกพันธมิตร หรือ สว.สรร หรือใคร ๆ ยังเหนียวแน่นต่อรัฐบาลต่อ แน่ใจหรือครับ เพราะหากอภิสิทธิ์ไม่กล้าเล่นงานฮุนเซ็นไปกว่านี้ เขาก็จะยิ่งถล่มรัฐบาลหนักขึ้น

ในเมื่อเลือกเล่นเกมเช่นนี้แล้ว ถึงอย่างไรก็ขอเอาใจช่วยว่า ให้ผลลัพธ์ออกมาเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติสูงสุด มีสันติภาพ ได้รับการเคารพในทุกมิติจากเพื่อนบ้าน และประชาชนไม่เดือดร้อน ถ้าทำได้ก็โอเคครับ ถ้าผิดไปจากนี้ ใครควรถูกประณามก็คงรู้นะครับ

4 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ7/11/52 11:44

    ทำไมไม่คิดว่าการที่แม้วไปเป็นที่ปรึกษาให้เขมร เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ ปชป.ใช้คนไม่เป็นนี่หว่า

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ9/11/52 10:57

    ทักษิรจะไปเขมรพรุ่งนี้ เหยียบหน้าอภิสิทธิ์แล้ว 555

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ12/11/52 21:49

    ตอนนี้ อภิสิทธิ์อยู่ในสภาวะตีนลอยจากลูกยุของพวกลิ่วล้อจนกู่ไม่กลับแล้ว
    น่าแปลกใจครับว่า ที่ผ่าน ๆ มา รัฐบาลไม่เคยแยแสกับการกระทำของเขมรกรณีรุกล้ำอธิปไตยในพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม. มาตั้งนาน ทั้ง ๆ ที่มันเป็นเรื่องแผ่นดินของชาติอย่างชัดเจน แต่พอทักษิณได้เป็นที่ปรึกษา ละโวยวายเป็นเจ้าเข้า การออกแถลงการณ์โวยวายแบบไร้เหตุผล เชื่อมโยงไปถึงว่าฮุนเซ็นแทรกแซงกิจการภายใน แล้วยังบังอาจเป็นตัวแทนอ้างความรู้สึกของคนทั้งชาติ ทั้ง ๆ ที่คนไทยส่วนหนึ่งไม่ได้นิยมชมชอบตัวเอง และยังกังขากับไม่ยอมรับกระบวนการเอาผิดทักษิณในทุกวันนี้ แบบนี้ เขาเรียกว่าพูดเท็จทั้งเพเลยครับ
    ประเด็นนี้ ถ้าหากว่าฮุนเซ็นไม่ได้ก่อเรื่องกับอธิปไตยในเขตแดน ไม่ได้ดูหมิ่นเหยียดหยามเกียรติยศศักดิ์ศรีของความเป็นชาติไทย แต่กระทำดังที่ประกาศว่าเป็นเรื่องส่วนตัวของตนกับอภิสิทธิ์ แล้วให้มีผลต่อตัวของอภิสิทธิ์กับรัฐบาลชุดนี้ที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่ได้เลือกมา ตรงนี้ผมรับได้ครับ
    ผมเองอยากเฝ้าดูครับ พี่โจ้ ว่าอภิสิทธิ์ในญานะนายก ฯ ที่คนไทยไม่ได้เลือกมาจะกระทำการบ้าคลั่งต่อไปโดยใช้เครื่องมืออะไรอีกบ้าง แล้วผลที่จะเกิดขึ้น คือ สิ่งที่วัดว่า "กึ๋น" ของอภิสิทธิ์มีมากแค่ไหนกันครับ

    ติ่ง

    ตอบลบ
  4. ตอบคำถามครับ

    1.ถ้าไทยคิดว่าเขมรเป็นศัตรู ก็หวาดระแวงไม่มีสิ้นสุด ทำอย่างไรได้ คนคิดแง่ร้ายมาตลอด จะให้เขาคิดแง่ดีในข้ามคืนไม่ได้หรอกครับ

    2.ทักษิณไปเขมรจริง ๆ เติมดีกรีความเดือดดาลของประชาธิปัตย์เข้าไปอีก อะไรก็เกิดขึ้นได้ครับ

    3.น้องติ่งครับ อภิสิทธิ์นั้นคงเล่นบทโต้กับฮุนเซ็น ผลกระทบอาจยังไม่เกิดขึ้นระยะสั้น ที่น่ากลัวคือ อภิสิทธิ์จะปล่อยให้พันธมิตรทำอะไรตามที่ฝ่ายหลังต้องการหรือเปล่าน่ะครับ

    ตอบลบ