วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2552

บางรักซอย 9 กับรสนิยมการเมืองป้ายสีฝ่ายแดง

ผมเป็นคนชอบดูละครเรื่องนี้ทางช่อง 9 เพราะตลกและมีสาระ แต่ก็หนักใจในความไม่เป็นการทางการเมืองของละครเรื่องนี้

ช่วงที่พันธมิตรกำลังเริงร่าบนถนนมีสองสามตอนที่ละครเรื่องนี้ออกแนวสนับสนุน เช่น ให้ตัวละครตัวหนึ่งพูดว่า "ทักษิณ" อีกตัวไอในลำคอดังว่า "คุก คุก" การเลือกข้างเช่นนี้ทำให้ผู้จัดละครโดน แจ๋ว ดอกจิกของไทยรัฐจวกไปหนนึงแล้ว เลยเงียบไป

พอมาวันนี้เอาอีกแล้ว ไม่รู้ว่าโดนใบสั่งหรือว่าเป็นความรู้สึกลึก ๆของคนจัด ทั้งที่ในหลายตอนที่ผ่านมาก็หลีกเลี่ยงประเด็นการเมืองอย่างเต็มที่

เป็นที่รู้กันว่าว่าละครเรื่องนี้เก่งด้านโฆษณาแฝง ทำได้เนียน วันนี้ก็นำกลวิธีนี้มาใช้กับละครตอนที่ฝ่ายพระเอกแข่งกีฬาสีเด็กอนุบาลกับคู่แข่ง ผมเริ่มเอะใจตั้งแต่ที่เห็นทีมพ่อแม่ลูกของฝ่ายคู่แข่งใส่สีแดงล้วนแล้ว (ปกติละครเรื่องนี้จะหลีกเลี่ยงสีเหลือง สีแดง ถ้าจะมีคนใส่สีแดง คนนั้นจะเป็นชนชั้นล่างอย่างคนใช้ในเรื่อง ไม่มีทางที่ระดับดาราจะใส่สีแดงเด็ดขาด)

เนื่อเรื่องคือ ฝ่ายพระเอกแข่งกีฬาแล้วเข้าเส้นชัยไปตีกะดิ่งหลังทีมสีแดง ซึ่งก็น่าจะเป็นฝ่ายแพ้ แต่กรรมการอ้างว่าตามกฏแล้ว ทีมสีแดงทำผิด เพราะพ่อแม่ลูกไม่เข้าเส้นชัยพร้อมกันทั้ง 3 คน แต่ทีมของพระเอกเข้พร้อมกัน จึงปรับทีมสีแดงแพ้

ทีมสีแดงโดยตัวพ่อจึงโวยวายเหมือนนักเลง ขู่จะฟ้องกระทรวงศึกษา แม้แต่เมียเข้าห้ามก็จะทะเลาะกัน พระเอกจึงเข้าไปห้ามสีแดงตัวพ่อโดยพูดว่า "ผมจะไม่อยากยุ่งหรอก ถ้าลูกคุณไม่นั่งร้องไห้ เพราะเห็นครอบครัวทะเลาะกัน ดูสิเรื่องเล็กแค่นี้แค่นี้ยังทะเลาะไม่ยอมรับกติกา แล้วเรื่องใหญ่ระดับชุมชนสังคมจะไม่วุ่นวายเหรอ น่าจะกลับไปดูครอบครัวตัวเองซะก่อน"

เป็นไงครับ สื่อถึงอะไร เขาหาว่าใครเป็นคนผิด แล้วกรรมการก็ชูมือให้ฝ่ายพระเอกดีใจกัน เพราะชนะได้อำนาจรัฐ ..เอ๊ย..ได้ถ้วย

แต่ขอโทษ คนเขียนบทลืมตรงนี้ไปหรือเปล่าก็ไม่ทราบ เพราะตามกติกาที่กรรมการว่าไว้คือ พ่อแม่ลูกเท่านั้นร่วมตีระฆังก่อนจึงชนะ แต่ครอบครัวพระเอกนั้นไม่ใช่พ่อแม่ลูกครับ หลอกลวงตั้งแต่ต้น เพราะพ่อแม่ตัวจริงของเด็กมาเล่นไม่ได้ เลยต้องให้พระเอกนางเอกเล่นแทน

ประเด็นนี้ทำเฉยครับ ทำให้คิดไปว่า อ้อ ถ้าเป็นเสื้อแดงผิดกติกานิดเดียวกรรมการจับแพ้เลย แถมโดนสั่งสอนอีก แต่ถ้าเป็นพวกเทพแล้ว ถึงผิดกฏมาตั้งแต่ต้น ฉันก็จะอุ้มให้เป็นผู้ชนะให้จงได้

5 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ27/6/52 20:53

    เป็นต่อก็ใช่ครับ คนเขียนคนเดียวกันครับ เล่นแกมๆนี้ครับ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ29/6/52 07:17

    ไม่มีความเป็นธรรม สมานฉันท์ไม่เกิด
    ผมรู้สึกเกลียดมากๆกับคำว่าหยุดทำร้ายประเทศไทย

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ29/6/52 11:03

    เคยดูบ้างเรื่องนี้เพราะว่าลูกสาวดู แต่จริง ๆ แล้วผมไม่ชอบเลย เพราะเสียเวลา มุกก็เป็นมุกเดิม ๆ โดยให้ฝ่ายตรงข้ามย้ำคำพูดด้วยกันเข้าใจผิด อย่างเช่น ตัวละคร ๒ ตัว กำลังคุยอยู่ไม่ลงรอยกัน คนหนึ่งเลยตัดความรำคาญว่า "ช่วยอะไรหน่อยได้ไหม?" อีกคนเลยตอบว่า "อ๋อ ให้ช่วยคิดหาทางออกเหรอ?" ตัวละครคนแรกกลับตอบว่า "เปล่า! ช่วยไปไกล ๆ หน่อย" อย่างนี้เป็นต้น แล้วก็เป็อย่างนี้ "ตลอด" ...เบื่อมาก ...

    ...เบื่อแท่งทอง (แต่ไม่เบื่อนางเอกนะ)...แต่พอได้อ่านเรื่องนี้แล้ว แสดงให้เห็นเลยว่า แม้แต่ผู้เขียนบท ยังคิด ๒ มาตรฐานเลย...

    ... คุณคิดหรือว่า การเขียนบทอย่างนี้ จะได้ใจคนเสื้อแดง? ไหนบอกสมานฉันท์ไง? ...

    ... เอ้า เอาใจ "เจ้าเตี้ยลูกกรอกในกระชัง" กันเข้าไป๊ ...

    ... อิงเว ...

    ตอบลบ
  4. ขอบคุณทุกความเห็นครับ

    ผมไม่เคยดูเรื่อง "เป็นต่อ" เลยไม่ทราบ แต่ลองเป็นอย่างนี้ ผลงานของค่ายนี้คงต้องใช้วิจารณญาณว่าจะชมหรือไม่ทุกเรื่องเเล้วครับ

    แนวทางสมานฉันท์นั้น ใครก็มีสิทธินำเสนอได้ แต่หากเสนอว่า แกผิด แกจงมายอมฉัน แล้วฉันจะยอมดีกับแกล่ะก้อ นี่ไม่ใช่การสมานฉันท์ครับ

    เรื่องหยุดทำร้ายประเทศไทยนั้น ช่างกล้าคิดนะครับ หึหึ สโลแกนนี้

    เรื่องลูกกรอกในกระชังนั้น ทำให้นึกขึ้นได้ ละครเรื่องนี้ฉายทางช่อง 9 นี่นา ไม่รู้ว่ามีรัฐอิทธิพลต่อผู้จัดขนาดไหนเหมือนกัน หรือว่าไม่ต้อง"ขอความร่วมมือ" เพราะ "เป็นพวกเดียวกันอยู่แล็ว"

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ3/7/52 00:53

    การเชลียร์อำนาจรัฐและผู้อยู่เบื้องหลังรัฐบาลได้แสดงออกโดยองค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ อย่างชัดเจนขึ้นทุกทีเลยครับ พี่โจ้ครับ
    กรณีแบบเรียนของเด็กเตรียมอุดมนั่นคือ ตัวอย่างที่ชัดเจน แล้วสื่อถึงความคิดและการกระทำของครูบาอาจารย์ว่ามีคุณธรรม จริยธรรมแค่ไหนครับ
    อันที่จริง ลองพิจารณาดูดี ๆ อาจมีนัยยะซ่อนอยู่อีกก็ได้นะครับในละครตอนนี้ โดยเฉพาะในตอนท้ายที่ดูเหมือนจะบ่งบอกว่า ใครกันแน่ที่ทำผิดแล้วอาศัยความเป็นพระเอกกลบการกระทำเลว ๆ ของนเองไว้ครับ

    ติ่ง

    ตอบลบ